วิธีการทำ SEO หรือวิธีทำเว็บไซต์ให้ติดหน้าแรกของ Google มีขั้นตอนมากมาย และมีหลากหลายสิ่งต้องทำ แต่หากจะสรุปขั้นตอนการทำ SEO ไกด์ไลน์สำหรับมือใหม่ เราพอสรุปวิธีทำ SEO ได้ดังนี้
- กำหนดกลุ่มเป้าหมายและเนื้อหาที่จะโฟกัส
- การทำ Keyword Research และวางแผนการใช้ Keyword บนเว็บไซต์
- การวางโครงสร้างเว็บไซต์ หรือ Site Structure พร้อมกับการวางแผนเนื้อหา
- การสร้างคอนเทนต์หรือเนื้อหาบนเว็บไซต์
- การปรับปรุงการใช้งานบนเว็บไซต์ (Website UX)
- การหา Backlink สร้าง Authority ให้กับเว็บไซต์
- การปรับแต่งเว็บไซต์ในเชิงเทคนิค (Technical SEO)
โดยรายละเอียดต่าง ๆ อธิบายวิธีการทำ SEO ด้านล่างนี้
1. กำหนดกลุ่มเป้าหมายและเนื้อหาหลักบนเว็บไซต์
เพื่อที่จะวางแผนทำ SEO ต่อไปได้อย่างมีประสิทธิภาพและทำงานอย่างมีเป้าหมาย ก่อนเริ่มต้นทำ SEO ควรตั้งตอบคำถามธุรกิจ 2 ข้อต่อไปนี้ก่อน คือ
- กลุ่มเป้าหมายของเว็บไซจ์เป็นใคร? อาจเป็นกลุ่มเป้าหมายในการทำธุรกิจหรือกลุ่มคนที่มีแนวโน้มจะสนใจธุรกิจของเรา
- เนื้อหาหลักบนเว็บไซต์จะเกี่ยวข้องกับเรื่องอะไร? ควรจะเป็นเนื้อหาที่กลุ่มเป้าหมายสนใจอ่านหรือต้องการคำตอบ โดยการกำหนดเนื้อหาหลักของเว็บไซต์ จะเป็นการกำหนดจากสิ่งที่ต้องการให้คนมองว่าแบรนด์เชี่ยวชาญเรื่องอะไร
เมื่อตอบคำถามทั้งสองข้อนี้ได้ เราก็จะสามารถวางแผนการออกแบบเว็บไซต์ การวางแผน Keyword และแผนการทำคอนเทนต์ทำ SEO ต่อไปได้
2. ทำ Keyword Research
การทำ Keyword Research คือ การค้นหาว่าผู้คนใช้คำหลัก (Keyword) อะไรในการค้นหาและคำหลักนั้นๆ มีปริมาณการค้นหา (Search Volume) มากแค่ไหน เพื่อจะได้คัดเลือกว่า ควรโฟกัสหรือลงแรงทำคอนเทนต์ให้ตอบโจทย์คำหลักไหน
เราจะทำ Keyword Research โดยการค้นหา
1) คำที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจของเรา (Product & Related Topic Keywords) เพื่อดึงดูดกลุ่มเป้าหมายที่มีความต้องการซื้อหรือสนใจสินค้า
2) สิ่งที่ลูกค้าหรือกลุ่มเป้าหมายน่าจะสนใจ (Customer Interest Keywords) เพื่อดึงดูดกลุ่มเป้าหมายที่มีแนวโน้มจะสนใจสินค้า หรือสามารถฟูมฟักให้สนใจอยากซื้อ
ยกตัวอย่างเช่น “ธุรกิจขายอุปกรณ์การแพทย์” ต้องการให้หน้าเพจหมวดสินค้าทำอันดับ อาจเริ่มต้นทำ Keyword Research จากคำเหล่านี้
- Product & Related Topic Keywords: อุปกรณ์การแพทย์, เครื่องวัดความดัน, เตียงคนไข้, เครื่องวัดอุณหภูมิร่างกาย
- Customer Interest Keywords: วิธีวัดความดันที่บ้าน, วิธีเลือกเตียงคนไข้, โรคความดันโลหิตสูง
3. วาง Site Structure
หลังจากได้ Keyword list ที่จะใช้สำหรับทำคอนเทนต์บนหน้าเว็บแล้ว ขั้นตอนต่อมา คือ การวางแผนผังเว็บไซต์ หรือ “Site Structure” แล้วจับคู่ Keyword กับหน้าเพจต่างๆ หรือที่เรียกกันว่าการทำ “Keyword Matching”
โดยหน้าที่ของ Site Structure จะบอกอยู่ 2 เรื่องด้วยกัน คือ
- บอกว่า หน้าเพจแต่ละหน้านำเสนอเนื้อหาอะไร หัวข้อใด (เราเอา Keyword มาจับคู่กับหน้าเพจ)
- บอกว่า หน้าเพจแต่ละหน้าภายในเว็บไซต์เชื่อมโยงกันอย่างไร (เพจไหนเป็นหัวข้อหลัก เพจไหนเป็นหัวข้อรอง) หรือการแบ่ง Catagory เนื้อหา
แผนผังเว็บไซต์ หรือ Site Structure ที่ดี ส่งผลต่อการติดอันดับ Google โดยลักษณะของแผนผังเว็บไซต์ที่ดีจะต้องเรียบง่าย มีโครงสร้างชัดเจน ไม่ซับซ้อน และโครงสร้างไม่ควรมีมากเกิน 3 – 5 ชั้น (เหมือนรูปตัวอย่าง)
ถ้าโครงสร้างเว็บดี นอกจาก Crawl Bot จะเก็บข้อมูลง่ายแล้ว ผู้ใช้งานเว็บไซต์ก็จะหาสิ่งต่างๆ ได้ง่ายเช่นกัน โดยการเลือกดูหน้าเพจที่สนใจจากหน้าเพจ Category ที่เกี่ยวข้องกับสินค้าหรือประเด็นที่สนใจ
4. สร้างเนื้อหาหรือคอนเทนต์ที่ตอบโจทย์กลุ่มเป้าหมาย
คนเสิร์ช Google ก็เพื่อหาอ่านเนื้อหาอ่านหรือหาข้อมูลบางอย่างที่ตอบข้อสงสัยของเขา ดังนั้น เนื้อหาบนเว็บไซต์ของเราจึงต้องสามารถให้ข้อมูลหรือตอบโจทย์ความสงสัยของเขาได้ ซึ่งการทำ Keyword Research ช่วยให้เรารู้ว่า ผู้คนสงสัยหรืออยากรู้เรื่องอะไรอยู่ ก็สามารถนำ Keyword มาตั้งเป็นหัวข้อในการทำคอนเทนต์ได้
และนอกจากคอนเทนต์บนเว็บไซต์จะต้องตอบข้อสงสัยของเขาแล้ว คอนเทนต์ที่ทำยังต้องเป็น “คอนเทนต์คุณภาพ” อีกด้วย เพราะเรากำลังแข่งขันเนื้อหากับเว็บไซต์อื่นๆ หากคอนเทนต์ของเรา ให้ข้อมูลได้ตรงกว่า ละเอียดกว่า ช่วยเหลือเขาได้มากกว่า ก็มีแนวโน้มที่คนจะชอบและอัลกอริทึมของ Google จะช่วยดันเว็บไซต์ของเราให้ขึ้นอันดับสูงขึ้น
ทั้งนี้ มีอีกทริกของต้องทำเพื่อเพิ่มโอกาสไต่อันดับ SEO คือ การปรับแต่งทำ On-page SEO เช่น การใส่ Headling Tag ทำโครงสร้างเนื้อหาให้ Bot เข้าใจง่ายๆ, การกระจาย Keyword ที่เกี่ยวข้องบนหน้าเพจ, การตั้งชื่อหน้าเพจ หรือ SEO Title, การเขียนคำบรรยายหน้าเพจ หรือ Meta Description ฯลฯ
5. ปรับปรุงเว็บให้ใช้งานง่าย (Website UX Optimization)
อีกปัจจัยข้อสำคัญในการจัดอันดับเว็บไซต์ของ Google คือ เรื่องของ UX: User Experience หรือประสบการณ์ใช้งานบนเว็บไซต์
เว็บไซต์ของเราควรจะใช้งานง่าย ลื่นไหล ไม่สะดุด โดยองค์ประกอบหลักๆ ที่ควรปรับแต่งเพื่อเพิ่มคะแนนในฝั่ง Website UX ได้แก่
- การออกแบบเว็บไซต์ที่สวยงาม น่าใช้ และน่าเชื่อถือ
- Navigation หรือเมนูต่างๆ บนเว็บไซต์เข้าใจง่าย หาอะไรก็เจอ
- เน้นการเพิ่มความเร็วดาวน์โหลดเว็บไซต์ ผ่านการเลือก Hosting, การทำเว็บไซต์ให้เรียบง่าย, การย่อขนาดไฟล์รูปภาพ ฯลฯ
- การทำเว็บไซต์ให้รองรับการใช้งานบนอุปกรณ์พกพาหรือมือถือ แสดงผลเว็บไซต์ได้เหมาะกับหน้าจอของสมาร์ตโฟนหรือแท็บเล็ต, ระยะห่างระหว่างปุ่มพอดี เลือกสัมผัสปุ่มได้ง่าย, ขนาดตัวอักษรเหมาะกับการอ่านบนมือถือ ฯลฯ
- การเพิ่ม User Signal เช่น ทำให้ผู้ใช้งานอยู่บนเว็บไซต์นานขึ้น, คลิกหรือเข้าไปหน้าเพจอื่นๆ บนเว็บไซต์ ฯลฯ
6. หา Backlink สร้าง Authority ให้เว็บไซต์
ปัจจัยสำคัญที่ Google ใช้ในการให้คะแนนและจัดอันดับเว็บไซต์ คือ เรื่องของความน่าเชื่อถือ หรือ Domain Authority ซึ่งมีวิธีการวัดและให้คะแนนจากหลายส่วน แต่ส่วนที่มีน้ำหนักค่อนข้างมาก คือ เรื่องของการได้รับการอ้างอิงจากเว็บไซต์อื่น หรือ “Backlink” ด้วยการที่เว็บไซต์อื่นลิงก์มาหาเว็บไซต์ของเรา
แต่ก็ใช่ว่า ยิ่งมี Backlink เยอะๆ จะเป็นเรื่องดีเสมอไป เพราะ Google ก็จะตรวจสอบ เข้าไป crawl เว็บไซต์ที่ลิงก์มาหาเราด้วยว่า เว็บไซต์เหล่านั้นมีลักษณะอย่างไร โดยเว็บไซต์ที่เหมาะทำ Backlink ควรมีลักษณะ ดังนี้
- Backlink มาจากเว็บไซต์ที่มี Authority สูง หมายถึง เว็บไซต์ที่ได้รับความน่าเชื่อถือสูง มีคนอ่านเยอะ มีคนอ้างอิงบ่อย (ลองเช็ก Domain Authority ของเว็บไซต์ต่างๆ ที่นี่)
- Backlink มาจากเว็บไซต์ที่เกี่ยวข้อง เช่น เราทำเว็บไซต์ธุรกิจขายอุปกรณ์การแพทย์ Backlink ควรมาจากเว็บที่มีเนื้อหาเกี่ยวกับการแพทย์และการดูแลสุขภาพ ไม่ใช่มาจากเว็บไซต์เกี่ยวกับเกม
- Backlink มาจากเว็บไซต์ที่มีคนใช้งานจริง ไม่ใช่เว็บไซต์ที่สร้างขึ้นมาหลอกๆ เพื่อทำ Backlink มาหาเว็บไซต์หลัก ต้องเป็นเว็บที่มีคนเข้าใช้งานเรื่อยๆ
ส่วนเทคนิคในการหา Backlink ก็คือ การทำอย่างไรก็ได้ให้มีส่งลิงก์มายังเว็บไซต์ของเรา เช่น ทำรูปภาพหรือ Infographic ให้คนเอาไปใช้แล้วส่งลิงก์กลับมา, อาสาไปเขียน Guest Blog ให้กับเว็บไซต์เจ้าอื่น, การทำวิดีโอไปแชร์ยังแพลตฟอร์มต่างๆ แล้วส่งลิงก์กลับมา ฯลฯ
7. ปรับแต่งเรื่อง Technical SEO
องค์ประกอบในการทำ SEO ได้แก่ On-page SEO, Off-page SEO และ Technical SEO
สำหรับวิธีทำ SEO ขั้นตอนที่ผ่านมาเราทำ SEO ทั้งบนและนอกเว็บไซต์ของเรามาแล้ว อีกสิ่งเดียวที่เหลือก็คือ การทำ Technical SEO หรือการปรับแต่งเว็บไซต์ในเชิงเทคนิค
โดยหน้าที่นี้ คุณอาจจะทำเองหรือมอบหมายให้เป็นหน้าที่ของ Programmer หรือ Website Developer เพราะจำเป็นต้องมีความรู้ในเรื่องของเว็บไซต์และโค้ดดิ้ง (coding) อย่างไรก็ตาม คุณสามารถนำหัวข้อเหล่านี้ไปเป็น Checklist ในการร่วมงานกับ Website Developer ได้
Checklists สำคัญในการทำ Technical SEO ได้แก่
- ทำหน้า 404 page not found
- ปรับแต่งเพิ่มความเร็วเว็บไซต์ (Page speed)
- ทำ Lazy load ให้รูปภาพค่อยๆ โหลด ค่อยๆ แสดงผลเฉพาะส่วนที่ดูอยู่
- ปรับแต่งชื่อที่อยู่เว็บไซต์ หรือทำ URLs Friendly
- ทำเว็บไซต์ให้เป็น https:// หรือทำ SSL Certificate
- ทำ Robots.txt ให้ Crawl Bot เข้ามาสำรวจเว็บไซต์ได้ง่ายๆ
- ตรวจสอบหน้าเพจที่พัง (Site Error)
- ทำ XML sitemap ให้ Crawl Bot เข้าใจโครงสร้างเว็บไซต์
- ทำ Breadcrumb menus เพื่อให้ทั้งผู้ใช้งานเว็บไซต์และ Crawl bot สำรวจเว็บไซต์ได้ง่ายๆ
- ทำ Canonical url สำหรับหน้าเพจที่มีเนื้อหาใกล้เคียงกัน เพื่อไม่ให้ถูกมองว่าเป็นหน้าเพจคัดลอก (Duplicate Page)
สรุป
การทำให้เว็บไซต์ของคุณติดหน้าแรกบน Google คุณจะต้องทำให้เว็บไซต์ของคุณตรงกับ Keyword ที่ต้องการก่อนและใช้เทคนิคการฝังลิงค์เว็บไซต์ผ่านช่องทางต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นช่องทางโซเชียลมีเดีย เว็บบล็อคต่างๆ และอื่นๆอีกมากมาย เพื่อให้เกิด Backlink และทำให้ Google เกิดการเรียนรู้ ต่อมาคือการปรับแต่งเว็บไซต์ให้ใช้งานง่ายหรือเรียกอีกอย่างว่า Customer’s Journey ที่ดีมีชัยไปกว่าครึ่ง หากคนที่เข้ามาใช้เว็บไซต์สามารถใช้งานได้ง่าย มีระบบของเว็บไซต์ที่เข้าใจง่าย ไม่มีความซับซ้อนจนเกินไป และความเร็วในการโหลดหน้าเว็บค่อนข้างเร็ว ก็จะช่วยให้เว็บไซต์ของคุณนั้นติดหน้าแรกของ Google อย่างง่ายดาย
ขอขอบคุณข้อมูลดีๆจาก: https://1stcraft.com/what-is-seo/#8-%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%97%E0%B8%B3-on-page-seo
🎯 สนใจบริการ Digital Marketing สอบถามเพิ่มเติมได้ที่นี่
💬 LINE: https://lin.ee/lVV985S
📱 Tel : 090-961-5054 (K’Jack)
📱 Tel : 090-984-9147 (K’Pooh)
✉️ Email : theprocontentth@gmail.com🌐 Website : https://lineofficialaccounts.com